วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ความสำคัญของเส้น EMA8 กับการพักตัวของหุ้น


"ความสำคัญของเส้น EMA8 กับการพักตัวของหุ้น"

          เคยมั้ยที่เห็นหุ้นวิ่งเขียวยั่วทั้งวันจนน้ำลายไหล แต่ก็ไม่กล้าซื้อจนเห็นหุ้นปิดแท่งเขียวยาวๆเต็มแท่ง จึงตัดสินใจซื้อ ATC และห่อกับบ้านฝันหวานพรุ่งนี้รวยสรุปพุ่งนี้แดง วันต่อมาก็แดง วันต่อๆมาอีกก็แดง จนทน ทน ทนๆๆไม่ไหว ขายออกไป สบายใจแล้วกรุคัทลอท^^ สรุปวันรุ่งขึ้นหุ้นลิ่ง O-o ... เคยเป็นกันมั้ย??  .ใครเคยเป็นยกมือขึ้น...
แต่ก็นะเวลาเราจะเห็นกราฟหุ้นวิ่ง อย่าง DIMET KOOL WIIK  บ้างครั้งเราอาจจะมาเห็นช้า 1-2 วัน บ้างทีอาจจะ 3-4-5 วันมาแล้ว ความโลภบังเกิด จะเข้ากัวติดดอย จะไม่เข้าก็เสียดาย เรามาใช้เทคนิคพื้นๆที่เป็นอีก1ข้อสังเกตในการเข้าดีกว่า

มาเริ่มกันดีกว่า

อันดับแรก มาดูความหมาย EMA กันก่อนนะ
EMA (Exponential Moving Average)
เป็น indicator อีกรูปแบบหนึ่งของการหาค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก โดยการให้ความสำคัญกับค่าตัวหนึ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคา และถ่วงน้ำหนักให้ค่าสุดท้ายมีความสำคัญเพิ่มขึ้น ตามลำดับการให้ความสำคัณ ค่า1<2<4<8
ทำไมต้อง EMA 8 เพราะเราต้องการสังเกตความผิดปกติของเส้นค่าเฉลี่ยราคาที่ควรจะเป็นไปในช่วง 8 วันติดกันก่อนหน้า ที่ควรสัมพันธ์เกาะติดกันไปกับราคาเปิดวันถัดไป

เทคนิคเล็กน้อย การสังเกตเพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าซื้อแล้วติดหุ้นช่วงพักตัวรุนแรงของหุ้น

1.แท่งเทียนไม่ว่าจะแดงหรือเขียวควรมี แท่งเทียนแท่งต่อแท่ง เพราะจะทำให้ฐานราคาแข็งแรง
2.
จากข้อ1 แท่งเทียน ราคาเปิดแท่งเทียน ควรมีพฤติกรรมความวิ่งเกาะใกล้เส้น EMA8 ไม่ว่าแท่งเทียนจะเล็กจะสั้น จะเล็ก หรือ ยาว ใหญ่ (ห้ามคิดทะลึง อิอิอิ)
3.
ถ้าราคาเปิดแท่งเทียน เริ่มออกห่างจากเส้น EMA8 มีความสูงราคาเปิดจนถึงเส้น EMA8 มีความสูงมากกว่า 50% ของแท่งก่อนหน้า (เปิดโดด แต่เส้น EMA8 ไม่ตาม) ให้สังเกตและติดตามอย่างใกล้ชิดเพราะหุ้นมีโอกาสพักสูงในวันถัดไป และพักแรงตาม %ความสูงของช่องว่างราคาเปิดกับเส้น EMA ของแท่งก่อนหน้า

สรุป

1.ถ้ามีหุ้นอยู่ในมือ ให้ถือหุ้นไว้เรื่อยๆถ้าแท่งเทียนกับ EMA8 ยังเป็นไปตามข้อ 1-2 แต่ถ้า เกิดข้อ3 ให้ระวังเตรียมขายก่อนการพักตัว ควรใช้ อินดิเคเตอร์ต่างๆร่วมด้วยในการตัดสินใจ
2.ถ้ายังไม่มีหุ้นในมือ
2.1
เห็นหุ้นเมื่อเกิดตามข้อ1-2
ถ้าเพิ่งมาเห็นหุ้นกำลังวิ่งติดต่อกันหลายวัน แท่งเทียนควรเป็นตามกฎข้อ1-2 เราสามารถเข้าซื้อได้แนะนำซื้อราคาปิดเพราะเราต้องการความแม่นยำของแท่งเทียนมากที่สุดและควรใช้อินดิเคเตอร์ต่างๆร่วมด้วยในการตัดสินใจ
2.2
เห็นหุ้นเมื่อเกิดทั้ง 3ข้อแล้ว
ควรรอให้มีการพักตัวจนแท่งเทียนนิ่ง ยิ่งไม่หลุด EMA8 ไปรับใกล้เส้น ถ้าหลุดเส้นควรรอจนกว่ามีแท่งเทียนที่ปิดยืนเหนือเส้นจึงเข้าซื้อและควรใช้อินดิเคเตอร์ต่างๆร่วมด้วยในการตัดสินใจ


วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เล่นหุ้นห้ามลอกการบ้าน...แต่ศึกษาและประยุกต์ได้

     

    เล่นหุ้นห้ามลอกการบ้าน...แต่ศึกษาและประยุกต์ได้


     การลงทุนในตลาดหุ้นนั้น มีนักลงทุนจำนวนไม่น้อยที่ใช้วิธี “ลอกการบ้าน” หรือ “ลอกหุ้นเด็ด” จากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจากเพื่อนนักลงทุนด้วยกัน จากโบรกเกอร์ จากนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ จากผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นเซียนหุ้นหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน จากสื่อต่างๆ ทั้งหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์ หรือเว็บไซต์ด้านการลงทุน และอื่นๆ
    แต่ในมุมมองของ “สุดยอดนักลงทุน” ระดับโลกหลายๆ ท่านนั้น ไม่แนะนำให้ลงทุนด้วยการ “ลอกการบ้าน” จากคนอื่น แต่ควรรู้จัก “คิดและวิเคราะห์ด้วยตัวเอง”    
    “วอร์เรน บัฟเฟตต์” กล่าวว่า “คุณจะต้องคิดด้วยตัวของคุณเอง ผมว่ามันเป็นเรื่องน่าประหลาดที่คนไอคิวสูงๆ กลับชอบเลียนแบบผู้อื่นโดยไม่รู้จักคิด”

    “แอนโทนี โบลตัน” ผู้จัดการกองทุนชื่อดังของอังกฤษ เขียนไว้ในหนังสือ “ลงทุนสวนกระแสอย่าง…แอนโทนี โบลตัน” (แปลโดย “พรชัย รัตนนนทชัยสุข”) ว่า “เราต้องคิดอย่างเป็นอิสระ คุณไม่ได้ถูกหรือผิด เพราะฝูงชนไม่เห็นด้วยกับคุณ”
    “เซอร์จอห์น เทมเพิลตัน” ก็ให้ความสำคัญกับการคิดและวิเคราะห์ด้วยตัวเองเช่นเดียวกัน จากกฎการลงทุนที่เขาบัญญัติขึ้นมาทั้งหมด 16 ข้อ หนึ่งในนั้นก็คือ “จงทำการบ้านให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน” ซึ่งเป็นกฎการลงทุนข้อที่ 8 ของเขา
    เช่นเดียวกับ “ปีเตอร์ ลินซ์” ที่แนะนำว่า “เมื่อตัดสินใจที่จะลงทุนด้วยตัวเอง คุณก็ควรพยายามพึ่งพาตนเอง โดยไม่ต้องสนใจข่าวลือหรือคำแนะนำจากโบรกเกอร์ รวมไปถึงรายชื่อ “หุ้นที่ไม่ควรพลาด” ตัวล่าสุดจากหนังสือพิมพ์เล่มโปรดของคุณ คุณควรวิเคราะห์ด้วยตัวเอง ไม่ต้องใส่ใจหุ้นที่คุณได้ยินว่าปีเตอร์ ลินซ์หรือเซียนหุ้นคนอื่นๆ กำลังเข้าซื้อ”

    “ปีเตอร์ ลินซ์” ยังอธิบายเหตุผลเพิ่มเติมด้วยว่า ทำไมจึงไม่ควร “ลอกการบ้าน” หรือ “ลอกหุ้น” ที่ตัวเขาหรือเซียนหุ้นคนอื่นๆ กำลังเข้าซื้อ
     ประการแรก เซียนหุ้นอาจจะผิดพลาดก็ได้ ตัวอย่างที่ชัดเจนล่าสุดก็คือ ถ้าคุณลอกการบ้าน “วอร์เรน บัฟเฟตต์” โดยการซื้อหุ้นเทสโก้ตามเขา คุณก็อาจประสบภาวะขาดทุนเช่นเดียวกับเขา
    ประการที่สอง แม้ว่าเขาอาจจะถูก คุณก็ไม่มีทางรู้ว่าเขาจะเปลี่ยนใจและขายหุ้นนั้นออกไปเมื่อไหร่ เพราะเวลาที่เขาขาย เขาคงไม่ออกมาประกาศให้ใครรู้
    ประการที่สาม คุณอาจมีข้อมูลที่ดีกว่าอยู่รอบๆ ตัวคุณ และคุณสามารถที่จะติดตามข้อมูลเหล่านั้นได้ดีไม่แพ้บรรดาเซียนหุ้น โดยเฉพาะหุ้นของสินค้าหรือบริการที่ใกล้ชิดกับชีวิตประจำวันของคุณ หรือหุ้นที่เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมที่คุณทำงานอยู่ ซึ่งคุณอาจมีข้อมูลที่ลึกซึ้งกว่าที่เซียนหุ้นมีอยู่ก็ได้
    นั่นจึงเป็นเหตุผลที่บรรดา “สุดยอดนักลงทุน” ต่างแนะนำให้นักลงทุนรู้จักคิดและวิเคราะห์การลงทุนด้วยตัวเอง ซึ่งก็สอดคล้องกับคำสอนที่ “พระพุทธเจ้า” ได้กล่าวไว้เมื่อสองพันกว่าปีที่แล้วว่า “อัตตา หิ อัตตโน นาโถ – ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” นั่นเอง
    ดังนั้นหากคิดจะลอกก็จงลอกแบบ "มีสติ" และ "มีสมอง" ดูว่าหุ้นที่เค้าให้มานั้นกราฟเป็นอย่างไร ลองวิเคราะห์หาจุดเข้า จุดออกแล้วเทียบกับข้อมูลที่ได้มาว่าตรงกันหรือไม่ ฝึกบ่อยๆ ไม่แน่วันนึงคุณก็อาจเป็นเซียนหุ้นคนใหม่ก็ได้นะครับ
     ชอบใจบทความนี้ช่วยแชร์ หรือ Comment ทิ้งไว้เพื่อเป็นกำลังใจด้วยครับ ขอบคุณครับ

วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

วิธีทำการบ้านหุ้นอย่างง่ายๆ สไตล์เม่าน้อย...

วิธีทำการบ้านหุ้นอย่างง่ายๆ สไตล์เม่าน้อย...


เม่าน้อยใช้ efin เป็นหลัก ดังนั้นจึงขอ Reference การใช้งานจาก efin นะครับ

1.เข้าดู TOP GAINER ของแต่ละวัน  ( F5 ของ efin )


2.เลือกดูหุ้นที่เป็นขาขึ้นเท่านั้น !!! สำคัญมากๆๆ

3.ดูขาขึ้นโดยเลือกใช้เครื่องมือที่ตัวเองถนัด 
          เช่นใช้ EMA MACD STO หรืออะไรก็ได้ที่เราเข้าใจจริงๆ แต่อย่าเยอะเพราะยิ่งเยอะยิ่งมั่ว Simple is the best.

4.เริ่มลงมือสแกนหุ้นเลย โดยซื้อขายตามสัญณาญที่ตัวเองถนัด เน้นว่าตามที่ตัวเองเข้าใจ
          4.1ใช้สัญญาณ EMA  สองเส้นตัดกัน ส่วนใหญ่เม่าน้อยใช้ เส้น ema 13 กับ 34 เป็นสัญญาณซื้อครับผม มันอาจดูง่ายๆสั้นๆแต่มันก็มีประสิทธิภาพดีครับ


             4.2 macd ตัด signal
          4.3 Slow sto  %K ตัด %D
          **แล้วแต่ถนัดเลยครับ

5.ทำ money management …สำคัญมาก
          มันคือการแบ่งเงินที่จะใช้เทรด โดยเม่าน้อยจะซื้อหุ้นครั้งละไม่เกิน 4 ตัว เพราะมากกว่านี้ดูไม่ทันครับ
          สมมุติมีเงิน 100000 บาท ผมก็จะเลือกหุ้นมา 4 ตัว แบ่งเป็นตัวละเท่าๆกัน  จากนั้นก็แบ่งไปว่า ตัวนึงจะเทรดกี่บาท ซื้อกี่ตัว
          ส่วนตัวผมเทรด 3 ไม้ครับ
          ไม้แรก 30% ไม้สองถ้ามันขึ้นจริงก็ซื้ออีก 50%  ของจำนวนเงิน และถ้ามันยังไปต่อก็เก็บ 20% ที่เหลือ
          บางท่านถามว่าทำไมถึงแบ่งไม้เข้าซื้อ ?เพราะ ถ้าซื้อทีเดียวหมดผมว่ามันเสี่ยงเกินไปครับ อะไรก็เกิดขึ้นได้ในตลาดหุ้นกันความเสี่ยงไว้ดีกว่า  เล่นตามจำนวนที่เราดูแลไหว ไม่ใช่ไปซื้อ 10-20 ตัว ดูไม่ไหว ตาลายย

6.ข้อนี้สำคัญที่สุดเลย อย่าลืม ตั้งจุด stop loss  เด็ดขาด 
          เพราะมันจะเป็นการทำให้เราไม่หมดตัว เป็นการคุมความเสี่ยง พอราคาลงก็ปล่อยตามอารมณ์ อยากขายเมื่อไรก็ขายพังสิครับ วิธีเลือกจุด stop loss ก็เยอะครับ เช่น ยอมขาดทุนได้ 3% ถ้าหุ้นตัวนั้นลงมา 3% ก็ขาย หรือ จะstop loss ที่ จุด Low ก่อนหน้า หรือเมื่อหลุดแนวรับก็ได้

7.จดบันทึกว่า ซื้อตรงไหน กี่หุ้น stop loss ตรงไหน ขายทำกำไรตรงไหน

8.สุดท้ายจดบันทึกเมื่อจบ 
         เมื่อได้กำไรหุ้นไปถึงเป้า หรือ เมื่อหุ้นลงมาถึงจุด stop loss ก็บันทึกไป ถ้าผิดพลาดก็จะได้เอามาทบทวนไม่ให้เกิดขึ้นอีก

**ทั้งหมดนี้เป็นวิธีที่เม่าน้อยทำเป็นประจำนะครับ แชร์ไว้สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่ม หรือ คนที่อยากจะลองเปลี่ยนแผน

**วิธีนี้ไม่ใช่สูตรหรือกฎตายตัวนะครับ อาจจะต้องปรับเปลี่ยนตามสถานะการจริงอีกทีนึง แล้วแต่สถานการณ์ครับผม!!

          จบแล้วครับ การทำการบ้านหาหุ้นของเม่าน้อย ใครมี Comment ก็แสดงความคิดเห็นกันได้ด้านล่างนี้ครับ ขอบคุณครับ

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

System trade ระบบเทรด คือไรอ่ะ?

System trade ระบบเทรด คือไรอ่ะ?
เห็นใครๆชอบพูดถึง System trade ระบบเทรด Trading system หรืออะไรประมาณนี้ แล้วทุกคนก็จะเข้าใจกันไปประมาณว่ามัน คือหุ่นยนต์ เขียวซื้อ แดงขาย เส้นนั้นตัดขึ้นซื้อ เส้นนี้ตัดลงขาย หรืออะไรประมาณนี้ ซึ่งแบบนี้แบบที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ แถวบ้านผมจะเรียก Algorithm หรือ Trade Algorithmซึ่งเป็นเพียงแค่ส่วนเล็กๆส่วนหนึ่งใน Trading system เท่านั้น

ในความเข้าใจของผมจริงๆแล้วระบบเทรดส่วนใหญ่นั้นจะประกอบด้วย 3 ส่วนที่เป็นหัวใจหลักๆ ดังนี้
.     ส่วนแรก “Trade Algorithm” คือ ขั้นตอน ตรรกกะ วิธีหรืออะไรก็แล้วแต่ที่ใช้เป็นสัญญาณซื้อขายหุ้นได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นการวิเคราะห์หุ้นด้วยกราฟ ตัดขึ้นซื้อ ตัดลงขายอย่างที่เข้าใจกัน อาจเป็นการดูงบการเงิน รายได้กำไรของบริษัท หรือแม้แต่การเรียงตัวของดวงดาวยันโยนหัวก้อย ก็ยังนับเป็นAlgorithm ได้ ขอแค่สร้างเงื่อนไขสำหรับการกำหนดจุดเข้า ออกของการเทรดได้ก็พอ
.     ส่วนที่สอง “Money Management” การบริหารจัดการเงินทุน หรือบางคนก็เรียกว่าการบริหารจัดการกับความเสี่ยง คือการวางแผนทางการเงิน ความเหมาะสมในการใช้เงินแต่ละครั้งในการซื้อขาย ซึ่งจะได้ผมดีที่สุดก็ต่อเมื่อมันสอดคล้องและเข้ากันได้ดีกับ Algorithm
.     ส่วนที่สาม “Mind” เรื่องของใจ ใช่ครับ “ใจ” แต่ “ใจ” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความกล้า ความฮึกเหิม แต่เป็นเรื่องของ วิธีคิด ความเข้าใจ ความอดทน ความเชื่อมั้น ที่มีต่อระบบ และที่สำคัญที่สุดของเรื่อง “ใจ” คือ “วินัย” ในการเทรด
.     Trading system ที่ดีไม่ใช่ระบบที่สามารถทำกำไรได้มาก Trading system ที่ดีต้องเป็นระบบที่ไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย มีการทดสอบ Back Test และ Forward Test มาอย่างดีแล้วว่าสามารถอยู่รอดในตลาดได้จริงและมีกำไรต่อเนื่อง ไม่ใช่ได้ๆเสียๆวนไปวนมาไม่สิ้นสุด
Trading system ไม่ใช่ เขียวซื้อ แดงขาย เส้นนั้นตัดขึ้นซื้อ เส้นนี้ตัดลงขาย แต่มันคือ ผลผลิตจากการศึกษาข้อมูล และการวางแผนจัดการทุกอย่างมาแล้วอย่างรอบคอบที่สุดเพื่อทำกำไรและอยู่รอดในตลาด

 อ่านแล้ว ชอบ/ไม่ชอบ หรือมีอะไรอยากคุยกัน ก็ comment ไว้ด้านล่างเลยนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

EMA (Exponential Moving Average) เส้นค่าเฉลี่ยการเคลื่อนที่

EMA (Exponential Moving Average) เส้นค่าเฉลี่ยการเคลื่อนที่

          Moving Average เป็นเครื่องมือทางเทคนิคที่ใช้กันแพร่หลายวิธีหนึ่ง เนื่องจากใช้ได้ง่ายและสามารถนำไปใช้ประกอบกับเครื่องมือทางเทคนิคต่าง ๆ โดยประเภทของเส้นค่าเฉลี่ย Moving Average  โดยค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่นักลงทุนส่วนใหญ่นิยมใช้มีด้วยกัน 2 แบบคือ Simple Moving Average (SMA) และ Exponential Moving Average (EMA)ซึ่ง ผู้ลงทุนอาจจะใช้ราคา เปิด หรือ ราคาปิด ราคาสูงสุด ราคาต่ำสุด หรือ ราคาเฉลี่ย มาเป็นตัวกำหนด สำหรับ การหาค่าเฉลี่ยก็ได้ ซึ่ง ส่วนใหญ่ที่ เราใช้อยู่ทั่วไป จะนำราคาปิดของหุ้นในแต่แท่งเทียน มาเป็นข้อมูลสำหรับการคำนวณค่าเฉลี่ย

Simple Moving Average (SMA)
Simple Moving Average (SMA) การหาเส้นค่าเฉลี่ยแบบธรรมดา มาจากการหาค่าเฉลี่ยราคาหุ้น ในช่วงเวลาที่กำหนด เป็น N วัน
SMA คำนวณมาจาก
SMAt = 1/N(Pt .......... Pt-N 1)
โดย P = ราคา
       T = วัน t
       N = จำนวนวันในค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่


Exponential Moving Average (EMA )
     การหาเส้นค่าเฉลี่ย แบบ Exponential Moving Average (EMA ) เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการหาค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก โดยการให้ความสำคัญกับค่าตัวหนึ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคา และถ่วงน้ำหนักให้ค่าสุดท้ายมีความสำคัญเพิ่มขึ้น
   
  ซึ่งวิธีนี้เป็นการพยายามแก้ไขข้อเสียที่เกิด ขึ้นจากวิธี SMA กล่าวคือ EMA นั้น จะถ่วงน้ำหนักโดยให้ความสำคัญกับวันสุดท้ายมากที่สุด และจะเอาค่าทุก ๆ ค่ามาหาค่าเฉลี่ย โดยจะไม่ทิ้งข้อมูลเก่าที่ผ่านมา ซึ่งจะทำให้ค่าทุกค่าสะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของราคา
หลักการคำนวณ คือ
  
  ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อื่น ๆ ให้ความสำคัญต่อคาบเวลา แต่ EMA จะให้ความสำคัญกับค่าตัวหนึ่งที่เรียกว่า SMOOTHING FACTOR (SF) หรือ SMOOTHING CONSTANT  โดยที่ SF = 2/(n 1) ซึ่งวิธีการสร้าง EMA มีสูตรการคำนวณคือ
 EMA   =   EMAt-1 SF(Pt - EMAt-1)
 ซึ่งเมื่อ EMAt  คือ  ค่าของ Exponential Moving Average ณ เวลาปัจจุบัน
 EMAt-1   คือ  ค่าของ Exponential Moving Average เป็นคาบเวลาก่อนหน้า
 SF  คือ  ค่าของ Smoothing Factor = 2/(n 1)
 Pt  คือ  ราคาปัจจุบัน
 n คือ  จำนวนวัน

โดยเส้นค่าเฉลี่ยที่นิยมใช้กันทั่วไปมีดังนี้
EMA5  คือ  5   วัน   (1 สัปดาห์)  ใช้สำหรับการลงทุนระยะสั้น
EMA10  คือ  10   วัน  (2 สัปดาห์)   ใช้สำหรับการลงทุนระยะสั้น
EMA25  คือ  25   วัน  (ประมาณ1 เดือน) ใช้สำหรับการลงทุนระยะค่อนข้างปานกลาง
EMA75  คือ  75   วัน  (ประมาณ1 ไตรมาส) ใช้สำหรับการลงทุนระยะกลาง
EMA200  คือ  200 วัน  (ประมาณ 1 ปี)  ใช้สำหรับการลงทุนระยะยาว






จากภาพ จะเห็นว่า EMA 5 วัน (เส้นสีฟ้า) มีความว่องไวในต่อการเปลี่ยนแปลงของราคามากกว่า SMA 5 วัน (เส้นสีเหลือง) โดยสังเกตจาก ความชันของ EMA ที่เปลี่ยนแปลงเร็วกว่าของ SMA

การใช้งาน : โดยปรับให้ราคาเรียบ (Smooth) และ ใช้บอกแนวโน้ม (Trend) ของตลาดในอดีตที่เกิดขึ้น แต่ไม่สามารถใช้คาดการณ์ทิศทางของราคาหุ้นได้เพราะ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่นั้นต้องใช้ข้อมูลในอดีตในการสร้างนั่นเอง รวมถึงสามารถใช้บอกแนวรับ แนวต้านของหุ้นและจุดซื้อ-ขายเบื้องต้นได้อีกด้วย

ความว่องไวของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
      หากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ้ายิ่งใช้จำนวนวันที่มากขึ้น จะส่งผลทำให้การเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มนั้นช้าลงไปด้วย เช่น ความว่องไว EMA (5) > EMA (20) > EMA (50) เป็นต้น



ตัวอย่างในภาพ SET index
           การใช้เส้นค่าเฉลี่ย EMA 5, 20, 50 วัน เส้นสีเขียว, สีเหลือง, สีแดง ตามลำดับ จะเห็นได้ชัดว่า เมื่อดัชนีเคลื่อนไหว เส้นสีเขียว จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ก่อน สีเหลือง โดย สีแดง นั้นจะเปลี่ยนแปลงช้าที่สุด
เป็นเช่นเพราะ ยิ่ง EMA มีจำนวนวัน (ข้อมูล) ที่ต้องใช้คำนวณมากเท่าใด ค่าเฉลี่ยที่ได้จะมีการเปลี่ยนแปลงได้ช้ากว่า
เส้นค่าเฉลี่ยเร็ว
ข้อดี เส้น EMA ที่ใช้จำนวนวันน้อยนั้นก็คือ เห็นการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มได้รวดเร็ว
ข้อเสีย : หากช่วงนั้นตลาดผันผวนขึ้นๆ ลงๆ ความเร็วของค่าเฉลี่ยนี้จะเป็นข้อเสียคือทำให้เราหาจังหวะเข้าที่ผิดพลาด (เนื่องจากมันเปลี่ยนเร็วไป การขึ้นๆ ลงๆ ของตลาดนั้น บางทีจะเรียกว่า ตัวรบกวน หรือ Noise

เส้นค่าเฉลี่ยช้า
ข้อดี เส้น EMA ที่ช้านั้นจะช่วยลด Noise ที่เกิดขึ้นทำให้ความผิดพลาดลดน้อยลง เพราะ เส้นที่ได้นั้นใช้ข้อมูลในการคำนวณมากกว่า ทำให้กำจัดความผันผวนออกไปได้
ข้อเสีย : เนื่องจากโดยปกติ ค่าเฉลี่ยนั้นจะมีความล่าช้าอยู่แล้วในตัว เพราะต้องใช้ข้อมูลในอดีตมาคำนวณ หาก EMA นั้นยังช้าด้วยแล้วหากนำมาใช้ในการหาจุดซื้อ-ขายนั้นจะทำให้เสียโอกาสในการทำกำไรได้
        โดยทั่วไป ระยะเวลาที่นิยมใช้ จริงๆแล้วขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของนักลงทุนแต่ละคนมากกว่าว่าตนนั้น เทรดสั้น หรือ เทรดยาว แต่ถ้าจะให้แบ่งว่าขนาดไหน เรียกว่า ระยะยาว ขนาดไหนเรียกว่า ระยะสั้น เราสามารถแบ่งเป็น ระยะสั้น 5-20 วัน ระยะกลางจะเป็น 50 – 70 วัน และสุดท้าย ระยะยาว 100 – 200 วัน


9 อย่างต้องรู้สำหรับมือใหม่ "ก่อนเล่นหุ้น"

9 อย่างต้องรู้สำหรับมือใหม่ "ก่อนเล่นหุ้น"


1. "การลงทุนมีความเสี่ยง แต่การไม่ลงทุนอาจเสี่ยงกว่า
ไม่มีอะไรบนโลกที่ไม่เสี่ยง ทำธุรกิจก็เสี่ยง ขับรถก็เสี่ยง เดินข้ามถนนยังเสี่ยง.. ถ้าไม่อยากเสี่ยง ทางออกคือให้อยู่แต่บ้าน ไม่ต้องออกไปไหน แต่ถ้าพูดจาขัดใจเมียก็ยังอาจเสี่ยงได้


2. "ความเสี่ยงไม่ได้ขึ้นกับสิ่งที่เราทำ แต่อยู่ที่ความเชี่ยวชาญที่มี" 
นักแข่งรถฟอร์มูล่าวันวิ่งด้วยความเร็ว 300 กม/ชม อาจเสี่ยงน้อยกว่ามือใหม่ที่เพิ่งขับรถเป็นวันแรก.. ความรู้ความชำนาญยิ่งมาก ความเสี่ยงก็ยิ่งต่ำ

3. "ทุกอย่างอยู่ที่มุมมอง" 
ปืนใช้ทำร้ายคนได้ แต่ก็ใช้ช่วยคนได้เช่นกัน.. บางคนมองตลาดหุ้นเป็นบ่อนการพนัน ในขณะที่อีกคนมองเป็นเครื่องมือที่ช่วยเกษียณเร็วขึ้น สำคัญที่สุดคือ "ทัศนคติ"

4. "ไม่ต้องรีบรวย แต่ต้องรีบเรียน" 
คนส่วนใหญ่เข้าตลาดเต็มไปด้วยความโลภ ทุ่มสุดตัวเพราะอยากรวยข้ามคืน แต่ขาดทั้งความรู้และความเข้าใจ.. ทางลัดในการเรียนรู้ ให้เริ่มจากของจริง แต่ด้วยเงินน้อยๆ ลองติดดอย ขายหมู ตกรถ และเก็บมาเป็นบทเรียน.. นี่แหละ "ประสบการณ์จริง"

5. "ผู้ชนะไม่ใช่คนที่รวยเร็วที่สุด แต่คือคนที่อยู่รอดได้นานที่สุด" 
ตลาดขาขึ้นใครๆก็ทำกำไรได้ แต่ขาลงนี่สิคือจุดแยกระหว่างของจริงและของปลอม.. จำไว้ว่าตลาดหุ้นไม่เคยหนีไปไหน มีแต่ผู้เล่นเท่านั้นที่ล้มหายตายจากไปก่อน

6. "เซียนหุ้นทุกคนต้องเจ๊งหนักมาก่อน" 
ถ้าคุณเคยเจ๊งมาก่อน แต่ยังไม่ยอมแพ้ อีกไม่นานจะได้เป็นเซียน.. เพราะคนเราเรียนรู้จากข้อผิดพลาดได้มากกว่าความสำเร็จ

7. "จงระวัง.. จุดที่หันไปทางไหนก็มีแต่คนเล่นหุ้น แต่ราคาไม่ขยับไปไหน" 
นี่คือหนึ่งในสัญญาณการ Peak ของตลาด ช่วงที่มีแต่ข่าวดีและคึกคักเป็นพิเศษ แต่ราคาไม่ขึ้นตาม นั่นเป็นช่วงที่อันตรายที่สุด

8. "โอกาสอยู่ในวิกฤตเสมอ" 
มีคำกล่าวว่า จุดซื้อที่ดีที่สุดคือจุดที่ทุกคนมองว่าโลกกำลังจะแตก.. ใช้เหตุผลเหนืออารมณ์ กล้าตัดสินใจ อย่าคล้อยตามมวลชน ทำได้โอกาสก็อยู่ไม่ไกล

9. "อย่ากลัวความล้มเหลว" 
ความกลัวคือศัตรูหมายเลขหนึ่งของความสำเร็จ คนที่ "กลัว" ไม่เคย "เริ่ม" เพราะมัวแต่ "รอ" จังหวะที่ดีที่สุด ที่ไม่มีอยู่จริง.. จงล้มเพื่อรู้ จุดเริ่มต้นที่เหมาะที่สุด ก็คือตอนนี้..

เราอ่านแท่งเทียนไปทำไม?

ผมเชื่อเหลือเกินว่าเทรดเดอร์และนักลงทุนไม่ว่าจะเป็นหน้าเก่า หน้าใหม่คงต้องเคยเห็นเจ้ากราฟแท่งเทียนนี้ผ่านตากันมาแล้วแน่นอน แต่ทุกคนเคยทรา...