วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

EMA (Exponential Moving Average) เส้นค่าเฉลี่ยการเคลื่อนที่

EMA (Exponential Moving Average) เส้นค่าเฉลี่ยการเคลื่อนที่

          Moving Average เป็นเครื่องมือทางเทคนิคที่ใช้กันแพร่หลายวิธีหนึ่ง เนื่องจากใช้ได้ง่ายและสามารถนำไปใช้ประกอบกับเครื่องมือทางเทคนิคต่าง ๆ โดยประเภทของเส้นค่าเฉลี่ย Moving Average  โดยค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่นักลงทุนส่วนใหญ่นิยมใช้มีด้วยกัน 2 แบบคือ Simple Moving Average (SMA) และ Exponential Moving Average (EMA)ซึ่ง ผู้ลงทุนอาจจะใช้ราคา เปิด หรือ ราคาปิด ราคาสูงสุด ราคาต่ำสุด หรือ ราคาเฉลี่ย มาเป็นตัวกำหนด สำหรับ การหาค่าเฉลี่ยก็ได้ ซึ่ง ส่วนใหญ่ที่ เราใช้อยู่ทั่วไป จะนำราคาปิดของหุ้นในแต่แท่งเทียน มาเป็นข้อมูลสำหรับการคำนวณค่าเฉลี่ย

Simple Moving Average (SMA)
Simple Moving Average (SMA) การหาเส้นค่าเฉลี่ยแบบธรรมดา มาจากการหาค่าเฉลี่ยราคาหุ้น ในช่วงเวลาที่กำหนด เป็น N วัน
SMA คำนวณมาจาก
SMAt = 1/N(Pt .......... Pt-N 1)
โดย P = ราคา
       T = วัน t
       N = จำนวนวันในค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่


Exponential Moving Average (EMA )
     การหาเส้นค่าเฉลี่ย แบบ Exponential Moving Average (EMA ) เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการหาค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก โดยการให้ความสำคัญกับค่าตัวหนึ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคา และถ่วงน้ำหนักให้ค่าสุดท้ายมีความสำคัญเพิ่มขึ้น
   
  ซึ่งวิธีนี้เป็นการพยายามแก้ไขข้อเสียที่เกิด ขึ้นจากวิธี SMA กล่าวคือ EMA นั้น จะถ่วงน้ำหนักโดยให้ความสำคัญกับวันสุดท้ายมากที่สุด และจะเอาค่าทุก ๆ ค่ามาหาค่าเฉลี่ย โดยจะไม่ทิ้งข้อมูลเก่าที่ผ่านมา ซึ่งจะทำให้ค่าทุกค่าสะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของราคา
หลักการคำนวณ คือ
  
  ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อื่น ๆ ให้ความสำคัญต่อคาบเวลา แต่ EMA จะให้ความสำคัญกับค่าตัวหนึ่งที่เรียกว่า SMOOTHING FACTOR (SF) หรือ SMOOTHING CONSTANT  โดยที่ SF = 2/(n 1) ซึ่งวิธีการสร้าง EMA มีสูตรการคำนวณคือ
 EMA   =   EMAt-1 SF(Pt - EMAt-1)
 ซึ่งเมื่อ EMAt  คือ  ค่าของ Exponential Moving Average ณ เวลาปัจจุบัน
 EMAt-1   คือ  ค่าของ Exponential Moving Average เป็นคาบเวลาก่อนหน้า
 SF  คือ  ค่าของ Smoothing Factor = 2/(n 1)
 Pt  คือ  ราคาปัจจุบัน
 n คือ  จำนวนวัน

โดยเส้นค่าเฉลี่ยที่นิยมใช้กันทั่วไปมีดังนี้
EMA5  คือ  5   วัน   (1 สัปดาห์)  ใช้สำหรับการลงทุนระยะสั้น
EMA10  คือ  10   วัน  (2 สัปดาห์)   ใช้สำหรับการลงทุนระยะสั้น
EMA25  คือ  25   วัน  (ประมาณ1 เดือน) ใช้สำหรับการลงทุนระยะค่อนข้างปานกลาง
EMA75  คือ  75   วัน  (ประมาณ1 ไตรมาส) ใช้สำหรับการลงทุนระยะกลาง
EMA200  คือ  200 วัน  (ประมาณ 1 ปี)  ใช้สำหรับการลงทุนระยะยาว






จากภาพ จะเห็นว่า EMA 5 วัน (เส้นสีฟ้า) มีความว่องไวในต่อการเปลี่ยนแปลงของราคามากกว่า SMA 5 วัน (เส้นสีเหลือง) โดยสังเกตจาก ความชันของ EMA ที่เปลี่ยนแปลงเร็วกว่าของ SMA

การใช้งาน : โดยปรับให้ราคาเรียบ (Smooth) และ ใช้บอกแนวโน้ม (Trend) ของตลาดในอดีตที่เกิดขึ้น แต่ไม่สามารถใช้คาดการณ์ทิศทางของราคาหุ้นได้เพราะ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่นั้นต้องใช้ข้อมูลในอดีตในการสร้างนั่นเอง รวมถึงสามารถใช้บอกแนวรับ แนวต้านของหุ้นและจุดซื้อ-ขายเบื้องต้นได้อีกด้วย

ความว่องไวของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
      หากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ้ายิ่งใช้จำนวนวันที่มากขึ้น จะส่งผลทำให้การเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มนั้นช้าลงไปด้วย เช่น ความว่องไว EMA (5) > EMA (20) > EMA (50) เป็นต้น



ตัวอย่างในภาพ SET index
           การใช้เส้นค่าเฉลี่ย EMA 5, 20, 50 วัน เส้นสีเขียว, สีเหลือง, สีแดง ตามลำดับ จะเห็นได้ชัดว่า เมื่อดัชนีเคลื่อนไหว เส้นสีเขียว จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ก่อน สีเหลือง โดย สีแดง นั้นจะเปลี่ยนแปลงช้าที่สุด
เป็นเช่นเพราะ ยิ่ง EMA มีจำนวนวัน (ข้อมูล) ที่ต้องใช้คำนวณมากเท่าใด ค่าเฉลี่ยที่ได้จะมีการเปลี่ยนแปลงได้ช้ากว่า
เส้นค่าเฉลี่ยเร็ว
ข้อดี เส้น EMA ที่ใช้จำนวนวันน้อยนั้นก็คือ เห็นการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มได้รวดเร็ว
ข้อเสีย : หากช่วงนั้นตลาดผันผวนขึ้นๆ ลงๆ ความเร็วของค่าเฉลี่ยนี้จะเป็นข้อเสียคือทำให้เราหาจังหวะเข้าที่ผิดพลาด (เนื่องจากมันเปลี่ยนเร็วไป การขึ้นๆ ลงๆ ของตลาดนั้น บางทีจะเรียกว่า ตัวรบกวน หรือ Noise

เส้นค่าเฉลี่ยช้า
ข้อดี เส้น EMA ที่ช้านั้นจะช่วยลด Noise ที่เกิดขึ้นทำให้ความผิดพลาดลดน้อยลง เพราะ เส้นที่ได้นั้นใช้ข้อมูลในการคำนวณมากกว่า ทำให้กำจัดความผันผวนออกไปได้
ข้อเสีย : เนื่องจากโดยปกติ ค่าเฉลี่ยนั้นจะมีความล่าช้าอยู่แล้วในตัว เพราะต้องใช้ข้อมูลในอดีตมาคำนวณ หาก EMA นั้นยังช้าด้วยแล้วหากนำมาใช้ในการหาจุดซื้อ-ขายนั้นจะทำให้เสียโอกาสในการทำกำไรได้
        โดยทั่วไป ระยะเวลาที่นิยมใช้ จริงๆแล้วขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของนักลงทุนแต่ละคนมากกว่าว่าตนนั้น เทรดสั้น หรือ เทรดยาว แต่ถ้าจะให้แบ่งว่าขนาดไหน เรียกว่า ระยะยาว ขนาดไหนเรียกว่า ระยะสั้น เราสามารถแบ่งเป็น ระยะสั้น 5-20 วัน ระยะกลางจะเป็น 50 – 70 วัน และสุดท้าย ระยะยาว 100 – 200 วัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เราอ่านแท่งเทียนไปทำไม?

ผมเชื่อเหลือเกินว่าเทรดเดอร์และนักลงทุนไม่ว่าจะเป็นหน้าเก่า หน้าใหม่คงต้องเคยเห็นเจ้ากราฟแท่งเทียนนี้ผ่านตากันมาแล้วแน่นอน แต่ทุกคนเคยทรา...