วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2562

เราอ่านแท่งเทียนไปทำไม?


ผมเชื่อเหลือเกินว่าเทรดเดอร์และนักลงทุนไม่ว่าจะเป็นหน้าเก่า หน้าใหม่คงต้องเคยเห็นเจ้ากราฟแท่งเทียนนี้ผ่านตากันมาแล้วแน่นอน แต่ทุกคนเคยทราบมั้ยครับว่าจริงๆแล้วกราฟแท่งเทียนมันมีต้นกำเนิดยังไงและ จะมีวิธีการใช้งานอย่างไร ??
.
เราอ่านกราฟแท่งเทียนไปทำไม?
วัตถุประสงค์ในการอ่านกราฟแท่งเทียน คือ การอ่าน “อารมณ์” ของผู้ที่เข้ามาซื้อขายในตลาด ดังนั้นเวลาที่อ่านกราฟแท่งเทียนเราควรตอบคำถามเบื้องต้นไห้ได้ว่า ระหว่างฝั่งซื้อกับฝั่งขายฝั่งไหนมีแรงมากกว่า เมื่อเราอ่านอารมณ์ของตลาดออกแล้ว เราก็จะสามารถใช้กราฟเป็น 1ในเครื่องมือในการเลือกตัดสินใจได้ว่าจะทำอย่างไร เพื่อให้ได้โอกาสในการได้กำไรจากการเทรด
#ประวัติของกราฟแท่งเทียน Candlestick
เป็นที่รู้กันดีว่ากราฟแท่งเทียนหรือ Candlestick Chart นั้นมีประวัติของมันมาอย่างยาวนาน มันถูกคิดค้นขึ้นโดยนักเก็งกำไรข้าวชาวญี่ปุ่นที่ชื่อว่า Honma Munehisa หรือในอีกชื่อหนึ่งว่า Sokyu Honma ในช่วงราวๆศตวรรษที่ 17 โดยภายหลังจากที่เขาได้ทำการคิดค้นการวิเคราะห์พฤติกรรมของราคาข้าวด้วยกราฟแท่งเทียนขึ้นมานั้นมันก็ได้ช่วยให้เขากลายเป็นอภิมหาเศรษฐีในยุคของเขาในเวลาไม่นานนัก ประมาณการกันว่าทรัพย์สมบัติของเขานั้นหากนำมาตีเป็นมูลค่าของเงินในปัจจุบันนั้นเทียบได้ถึงราวๆ 100 Billion US Dollar เลยทีเดียว
แนวคิดของท่าน Honma ประกอบไปด้วยหลักคิดอยู่ 3 ประการ ดังนี้
  1. ราคาของข้าวมีความสำคัญมากกว่าข่าวสาร หรือผลประกอบการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับการวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐานอย่างสิ้นเชิง
  2. ผู้ที่ทำการซื้อขายข้าว ตัดสินใจกันด้วยอารมณ์ล้วนๆ ซึ่งมีทั้ง ความดีใจ เสียใจ กลัว และความคาดหวัง โดยปราศจากซึ่งการตัดสินใจด้วยเหตุผล
  3. ราคาที่ซื้อขายกันในตลาด ไม่ใช่ราคาที่เหมาะสม แต่เป็นเพียงราคาที่ผู้ซื้อขายมีความพึงพอใจร่วมกันเท่านั้น
จากหลักคิดของท่าน Honma ทั้ง 3 ประการ จะเห็นได้ว่าเป็นไปตามแนวทางของการวิเคราะห์ทางเทคนิคทุกประการ คือ ให้ความสำคัญกับราคาซื้อขาย ณ ขณะนั้นมากกว่า ข้อมูลข่าวสารหรือการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน จึงอาจกล่าวได้ว่า ท่าน Honma คือ บิดาของการวิเคราะห์ตามแนวทางเทคนิคของฝั่งเอเชียเลยก็ว่าได้
.
#กราฟแท่งเทียน Candlestick คืออะไร?
Candlestick หรือ กราฟแท่งเทียน คือ กราฟชนิดหนึ่งที่ใช้เพื่อดูความเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ กราฟแท่งเทียนเป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับการวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical analysis) เพราะมันสามารถบอกรายละเอียดของข้อมูลราคาได้มากกว่ากราฟแบบ Line chart
หนึ่งแท่งเทียนประกอบไปด้วยข้อมูล 4 อย่างคือ ราคาเปิด ราคาปิด ราคาสูงสุด และ ราคาต่ำสุดในช่วงเวลาที่กำหนด (แท่งเทียนในรูปด้านบนมีระยะเวลาเท่ากับ 1 วัน) เราเรียกช่วงลำตัวของแท่งเทียน (ส่วนสีเขียวและสีแดง) ว่า “Real body” มันคือส่วนต่างของราคาเปิดและราคาปิด แท่งเทียนเป็นสีเขียวแสดงให้เห็นว่าราคาปิดสูงกว่าราคาเปิด (Bullish Candle) และในทางกลับกัน แท่งเทียนที่เป็นสีแดงแสดงให้เห็นว่าราคาปิดต่ำกว่าราคาเปิด (Bearish Candle) ในบางประเทศอาจใช้แท่งเทียนสีขาวดำแทนสีเขียวแดงเลย หรือหรืออาจใช้สีฟ้าแทนสีเขียวก็ได้
.
หลังจากที่เพื่อนๆได้อ่านบทความข้างต้นจบแล้ว ก็อาจจะมีคำถามเกิดขึ้นในใจว่า มีความจำเป็นอย่างไร ทำไมจึงต้องใช้การวิเคราะห์แบบกราฟแท่งเทียน Candlesticks ในการซื้อขายกับตลาด forex,หุ้น รวมถงทองคำ ผมได้สรุปเหตุผลที่สำคัญ ที่ไม่ควรมองข้าม Candlesticks ได้ดังนี้
หลังจากที่เพื่อนๆได้อ่านบทความข้างต้นจบแล้ว ก็อาจจะมีคำถามเกิดขึ้นในใจว่า มีความจำเป็นอย่างไร ทำไมจึงต้องใช้การวิเคราะห์แบบกราฟแท่งเทียน Candlesticks ในการซื้อขายกับตลาด forex,หุ้น รวมถงทองคำ ผมได้สรุปเหตุผลที่สำคัญ ที่ไม่ควรมองข้าม Candlesticks ได้ดังนี้
1. รูปร่างของแท่งเทียน 1 แท่ง สามารถสรุปได้คร่าวๆว่าฝั่งซื้อหรือฝั่งขายเป็นฝ่ายชนะ โดยการเปรียบเทียบราคาเปิดและปิด
 2.  ใช้ปริมาณการซื้อขายเป็นตัวช่วยในการพิจารณาแท่งเทียน เนื่องจากปริมาณซื้อขายที่มากแสดงถึงการเข้ามามีส่วนร่วมในการซื้อขาย ถ้าปริมาณการซื้อขายน้อยให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่าอารมณ์หรือทิศทางของราคานั้นๆ อาจจะอยู่ได้ไม่นานเพราะมีคนเข้ามามีส่วนร่วมในการซื้อขายน้อย
3.  การเปรียบเทียบระหว่างแท่งเทียน โดยเปรียบเทียบแท่งเทียนในปัจจุบันเดี่ยวๆ หรือเปรียบเทียบกับแท่งเทียนก่อนหน้า ว่าอารมณ์ของตลาดมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
4. ใช้ confirm แนวโน้มขาขึ้นหรือขาลงของสินค้า โดยพิจารณาจากราคาต่ำสุดในแต่ละแท่งเทียนยกตัวขึ้นในช่วงขาขึ้นหรือไม่ หรือราคาราคาสูงสุดในแต่ละแท่งเทียนลดต่ำลงในช่วงขาลงหรือไม่

เพื่อนๆนักลงทุนคงพอจะเห็นภาพของการใช้งาน “กราฟแท่งเทียน” กันแล้วนะครับ แต่สุดท้ายแล้วก็อยู่ที่การนำไปปรับใช้นะครับว่าสามารถจะนำไปวิเคราะห์ได้ดีแค่ไหน ถ้าเพื่อนๆ มีข้อส้งสัยหรือเทคนิคอย่างไรก็ลองถามกันเข้ามาได้นะครับ ^^

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2562

เส้นค่าเฉลี่ย : moving average



เส้นค่าเฉลี่ย : moving average

เส้นค่้าเฉลี่ย คือ ค่าเฉลี่ยของราคาหุ้นในระยะเวลาที่กำหนด
ที่นิยมใช้กันคือ 5 10 25 50 75 200 หรือบางครั้งก็ใช้ตาม fibo คือ 8 13 34 55 89 233
โดยค่าเฉลี่ย 200 วันจะถือเป็นค่าเฉลี่ย 1 ปี

ค่าเฉลี่ยบอกอะไรได้บ้าง
ค่าเฉลี่ยสามารถใช้ในการบอกแนวโน้มได้เป็นอย่างดี โดยเราสามารถใช้ดูต้นทุน ของคนในตลาด ว่าโดยเฉลี่ยแล้วในกรอบเวลาที่เราสนใจนั้น คนที่ถือหุ้นตัวที่เราสนใจมีต้นทุนเท่าใด


รูปแบบของเส้นค่าเฉลี่ยmu่นิยมใช้กันคือ
  1. Simple Moving Average ( SMA )
  2. Exponential Moving Average ( EMA )
หากใครสนใจที่มีของการหาค่าเส้น SMA และ EMA สามารถหาได้จาก google ได้ครับ
ในการใช้งานเส้น EMA จะให้การตอบสนองที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาในระยะสั้นๆ  ส่วนเส้น SMA จะใช้ได้ดีในการหาค่าเฉลี่ยระยะยาว

เส้นค่าเฉลี่ย ( Moving Average )
ค่าเฉลี่ยแต่ละเส้นสามารถบอกความหมายในตัวเองได้ดังนี้ ( ผมนิยมใช้ EMA ตาม fibo นะครับ )

EMA8 : Momentum ของราคา โดยหุ้นมักตอบสนองที่เส้นนี้จากผลของนักเก็งกำไรรายวัน ( daytrade )
EMA13 : Short Term Trend โดยหุ้นมักตอบสนองที่เส้นนี้จากผลของนักเก็งกำไรระยะสั้น
EMA34 : Pull back Support ใช้เป็นเส้นแนวรับระยะกลางหรือพวกเล่นรอบหากยืนบนเส้นนี้ได้ มักจะไปต่อได้ในระยะยาว
EMA90 : Uptrend Last Defend Line แนวรับสุดท้ายของการแสดงว่าเป็นขาขึ้น ซึ่งนักลงทุนระยะกลางและยาวจะใช้จุดนี้ตัดสินใจ โดยอาจพิจารณาว่าหุ้นตัวนี้ยังมีมูลค่าน่าเล่นอยู๋หรือไม่
SMA100 : Long Term Last Defend Line เส้นแนวรับสุดท้ายของนักลงทุนระยะยาว
SMA200 : Uptrend Last Stand Line : หากราคาหุ้นหลุดเส้นนี้ถือเป็นขาลงเต็มตัว

* สังเกตุว่าระยะ 100 วันขึ้นไปจะใช้ SMA เพราะตอบสนองราคาได้ดีกว่า EMA  
การเลือกใช้ Moving Average ของแต่ละคนจะต่างกัน แล้วแต่ลักษณะการเล่น นิสัย ความถนัด เช่น
EMA 10/50/150 หรือ 13/34/90

โดยส่วนตัวผมชอบใช้ 4 เส้นคือ
EMA 13 ใช้ดูแนวโน้มระยะสั้น
EMA 34 ใช้ดูความแข็งแรงของแนวโน้ม
EMA 90 ใช้ดู Trend
SMA 200 ราคาต่ำกว่าเส้นนี้ไม่เล่นครับ

วิธีการอ่านค่า Moving Average
หุ้นเป็นขาขึ้นเมื่อ : เส้น EMA34 อยู๋บนเส้น EMA90 โดยจุดเริ่มของการเปลี่ยน Trend จากขาลงเป็นขาขึ้นคือ Golden Cross ( EMA34 ตัดเส้น EMA90 ขึ้น และยืนราคาได้มั่นคง) และหากเส้น EMA เรียงกัน จาก 13 / 34 / 90 โดย EMA13 อยู๋บนสุด และราคาพักตัวไม่หลุด EMA 13 ถือเป็นขาขึ้นที่แข็งแกร่ง


หุ้นเป็นขาลงเมื่อ : เส้น EMA90 อยู่บนเส้น EMA34 โดยจุดเริ่มของการเปลี่ยน Trend จากขาขึ้นเป็นขาลงคือ Dead Cross ( EMA34 ตัดเส้น EMA90 ลงและไม่สามรถกลับมาได้)
หุ้นจะพักตัว หรือเปลี่ยนเป็นขาลงเมื่อ เส้น EMA 13 อยู๋ใต้ EMA 34  แต่เส้น EMA 34 ยังอยู๋เหนือ EMA 90 ซึ่งหุ้นอาจจะพักตัว เพื่อขึ้นหรือลงได้ทั้งสองทาง





เราอ่านแท่งเทียนไปทำไม?

ผมเชื่อเหลือเกินว่าเทรดเดอร์และนักลงทุนไม่ว่าจะเป็นหน้าเก่า หน้าใหม่คงต้องเคยเห็นเจ้ากราฟแท่งเทียนนี้ผ่านตากันมาแล้วแน่นอน แต่ทุกคนเคยทรา...