วันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560

7 ข้อ "ทำไมคนส่วนใหญ่เล่นหุ้นแล้วเจ๊ง"

7 ข้อ "ทำไมคนส่วนใหญ่เล่นหุ้นแล้วเจ๊ง"


           
         Mark Minervini แชมพ์การลงทุนในรายการ U.S. Investing Championship ในปี 1997 ที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนและเทรดเดอร์ทุกประเภทเข้าร่วมแข่งขัน.. เขาขว้าตำแหน่งแชมพ์มาครองด้วยการสร้างผลตอบแทนถึง 155% ต่อปี จากการลงทุนให้หุ้นเพียงอย่างเดียว


นี่คือกับดัก 7 ข้อ ที่เขาแนะนำให้มือใหม่ต้องระวังเป็นพิเศษ


1. คนส่วนมากใช้กลยุทธ์และวิธีเลือกหุ้นที่มั่วไปมา ไม่เป็นระบบ โดยมากจะเล่นตามใจตัวเองหรือไม่ก็ฟังจากคนอื่นมาอีกที

2. ถึงจะเจอกลยุทธ์ที่แล้วดีก็ตาม แต่คนส่วนมากกลับทนใช้ได้ไม่นานพอ.. อาจเกิดจากการไม่พอใจผลลัพธ์ในระยะสั้น แบบนี้ผมเรียกว่า "เปลี่ยนแนว" บ่อยเกินไป.. (ทำให้ค้นหาตัวเองไม่เจอสักที)

3. ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยสุดคือ นักลงทุนแทบทุกคน Cut Loss หรือตัดขาดทุนไม่เป็น

4. คนส่วนใหญ่ที่พอร์ตพังเสียหายอย่างหนัก เกิดจากการซื้อเฉลี่ยในหุ้นขาลง หรือ 'ยิ่งลง ยิ่งซื้อ'

5. คนจำนวนมากไม่ยอมทบทวนพอร์ตตัวเองเป็นประจำ จึงไม่สามารถวัดผลอะไรได้เลย.. โดยเฉพาะด้านการบริหารความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ได้รับ

6. มือใหม่มักตั้งเป้าที่ไม่สมจริง พวกเขาอยากรวยมากๆภายในระยะเวลาที่สั้นเกินไป.. พอทำไม่ได้ก็หมดศรัทธาและท้อเร็วเกินไป

7. ความล้มเหลวมาจากการไม่เชื่อมั่นในตัวเอง.. ถ้าอยากชนะ ให้เริ่มจากการคิดแบบ 'ผู้ชนะ' เสียก่อน

"หุ้นปันผล มันดียังไง"

"หุ้นปันผล มันดียังไง"
          ถ้าพูดถึงการเล่นหุ้น คนส่วนใหญ่คงคุ้นกับการซื้อขายบ่อยๆ เล่นแบบเก็งกำไรรายวัน.. แต่อีกหนึ่งมุมที่น่าสนใจ ที่หลายคนอาจยังไม่รู้ คือการซื้อหุ้นเพื่อรับปันผลในระยะยาว.. วิธีนี้ดียังไง เริ่มต้นยังไง และมีอะไรต้องระวังบ้าง.. มาเริ่มกันเลย..

1. บริษัทที่จ่ายปันผลมักเป็นบริษัทพื้นฐานดี
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อน ว่าปันผลที่เราได้รับจากการซื้อหุ้น มันมาจากไหนก็มาจากเงินสด กำไรและผลประกอบการที่บริษัทสามารถทำได้ในแต่ละปี.. ดังนั้นบริษัทที่สามารถจ่ายปันผลกลับมาให้ผู้ถือหุ้นได้ ต้องเป็นบริษัทที่มีสถานะทางการเงินที่ดีในระดับหนึ่ง เพราะบริษัทที่ขาดทุนคงจ่ายปันผลไม่ไหวแน่ๆ.. ยิ่งถ้าการจ่ายปันผลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และต่อเนื่องทุกปี โดยมากจะเป็นบริษัทใหญ่ที่มั่นคงและเติบโตเต็มที่... ซึ่งหุ้นของบริษัทกลุ่มนี้โดยมากจะมีความผันผวนทางราคาที่ต่ำกว่าหุ้นประเภทอื่นด้วย จึงมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า

2. พอร์ตโตไวขึ้น ด้วย Reinvestment
อีกข้อได้เปรียบของการได้รับปันผล คือการที่เราสามารถนำปันผลมาลงทุนต่อโดยการซื้อหุ้นของบริษัทเดิมเพิ่ม เรียกว่า Reinvestment... ซึ่งวิธีนี้จะทำให้สร้างความมั่งคั่งในระยะยาวได้รวดเร็วยิ่งขึ้น.. เอาปันผลปีนี้ไปซื้อหุ้นเพิ่ม ถ้าปีหน้าปันผลโต ก็ยิ่งได้ปันผลมากขึ้นกว่าเดิม.. แบบนี้ไปเรื่อยๆ ผลตอบแทนจะโตแบบทวีคูณเหมือนดอกเบี้ยที่ทบต้น... ดังนั้นควรดูด้วยว่าบริษัทจ่ายปันผลปีละกี่หน ยิ่งจ่ายบ่อยก็ยิ่งทบต้นได้มากขึ้น

3. หุ้นตก แต่ปันผลเพิ่ม
หลายครั้งที่ตลาดหุ้นอาจไม่เป็นใจ อยู่ในสภาวะที่ไม่ปกติหรือมีความผันผวนสูง.. การเลือกซื้อหุ้นปันผลทำให้ลงทุนได้อย่างสบายใจ เพราะหากเราได้ซื้อหุ้นในราคาที่เหมาะสม และคำนวณอัตราปันผลที่พอใจแล้ว ไม่ว่าหุ้นจะแกว่งหรือจะลงเราก็ยังได้รับปันผลที่สามารถนำมาลงทุนต่อได้ในอนาคต.. นอกจากนี้ราคากับปันผลวิ่งสวนกัน ถ้าหุ้นตกลงมามากๆ อัตราการปันผลจะเพิ่ม ทำให้เราสามารถหาจังหวะซื้อหุ้นเพิ่มได้... เมื่อตลาดกลับมาเป็นปกติ ราคาของหุ้นก็จะกลับขึ้นมาตามมูลค่าและคุณภาพของธุรกิจที่เราได้ลงทุนไป... ลงทุนแบบเน้นปันผลจึงเครียดน้อยกว่า และได้กำไรทั้งสองทาง

4. หุ้นปันผลสร้าง Passive Income
เป้าหมายสูงสุดของการลงทุนเน้นปันผลคือการเป็นเจ้ากิจการคุณภาพที่สามารถทำกำไรและจ่ายปันผลได้ต่อเนื่องทุกปี สร้างรายได้ที่เป็น Passive Income ให้เลี้ยงเราไปตลอด หรืออิสรภาพทางการเงินนั่นเอง... เมื่อได้ปันผลก็นำมาลงทุนต่อ พอร์ตและสินทรัพย์ก็โตขึ้น ปันผลก็เพิ่ม.. แบบนี้ถือกันยาวๆ "ไม่ต้องขายหุ้น"

5. การเลือกหุ้นปันผล
ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยสุดสำหรับมือใหม่ในการเลือกหุ้นปันผล คือการดูอัตราการปันผลของปีล่าสุดเท่านั้น หรือย้อนหลังสั้นไป.. เช่นเห็นว่าหุ้นราคาปัจจุบัน 50 บาท ปันผล 5 บาท อัตราการปันผล (Dividend Yield) เท่ากับ 10% ก็รีบตัดสินใจซื้อ... กลายเป็นว่าปีถัดมาบริษัทไม่มีกำไร เลยหยุดจ่ายปันผล ราคาหุ้นก็ตกลงหนัก... ดังนั้นข้อควรระวังคืออย่าดูแค่ตัวเลข แต่ต้องมองคุณภาพกิจการให้ออกด้วย ตอบให้ได้ว่าภาพธุรกิจในอีก 5-10 ปีข้างหน้าจะยังดีอยู่ไหม จะมีการเติบโตไหม... จากนั้นค่อยมาดูตัวเลขการทำกำไรและการจ่ายปันผล เน้นดูที่ "ความต่อเนื่อง" และ "การเติบโต"... บริษัทที่ดีต้องมีประวัติการจ่ายปันผลอย่างสม่ำเสมอ ในปริมาณที่เพิ่มขึ้น เป็นระยะเวลายาวนาน.. และทางที่สำคัญเงินที่นำมาปันผลควรเป็นกำไรจากการดำเนินงานจริงๆ ไม่ใช่จากกำไรพิเศษครั้งๆคราวๆ



วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560

สูตรสแกนหุ้นต้นทางแบบง่ายๆ เพื่อนำไปทำการบ้านต่อครับ

สูตรสแกนหุ้นต้นทางแบบง่ายๆ เพื่อนำไปทำการบ้านต่อครับ


           สำหรับเพื่อนๆที่อยากลอกการบ้านจากเพจต่างๆ แต่มันก็มีหุ้นหลายตัวเหลือเกิน จะเอาตัวไหนดี?  ก็ลองเอาสูตรนี้ไปสแกนดูครับ เจอตัวไหนเหมือนกับที่เค้าโพสๆกันตามเพจต่างๆ ก็จะได้มีความมั่นใจที่จะเล่นมากขึ้นครับ


สแกนแล้วจะได้ผลตามนี้ครับ ผมเลือก PPS มาให้ดู


ชอบไม่ชอบยังไงขอ Comment หรือข้อคิดเห็นอื่นๆด้วยนะครับ

หลักการสแกนหุ้นสูตรดั้งเดิม

หลักการสแกนหุ้นสูตรดั้งเดิม


เริ่มต้นจากแนวความคิดที่ว่า หุ้นจะเป็นขาขึ้นเมื่อกราฟ Stochastics เป็นขาขึ้น คือ เส้น %K ตัด %D ขึ้นไป โดย %K %D ไม่ใกล้ 100% และเส้น EMA3 ตัดเส้น EMA12 ขึ้นไป
ดังนั้น เราจึงทำการสแกนหุ้นทุกตัวในตลาด เพื่อหาหุ้นที่กราฟ Day และกราฟ Week เป็นขาขึ้น 


สำหรับสูตรดั้งเดิมนี้ จะสแกนโดยใช้อินดิเคเตอร์ Stochastics มีค่าพารามิเตอร์ตามค่าดีฟอลท์ที่นิยมกัน ดังนี้
%K Periods = 9
%K Slow = 3
%D Periods = 3

เมื่อได้รายชื่อหุ้นที่กราฟ Day และ Week เป็นขาขึ้นแล้ว ก็เปิดกราฟของ EMA3 และ EMA12 เพื่อคัดว่า หุ้นตัวไหนมี EMA3 ตัด EMA12 ขึ้นไป

โดย EMA3 ก็คือ EMA ที่ตั้งค่า Periods = 3 และค่า Shifts = 0
EMA12 คือ EMA ที่ตั้งค่า Periods = 12 และค่า Shifts = 0
หุ้นตัวไหนที่ผ่านเกณฑ์ทั้งหมดนี้ ก็อยู่ในข่ายที่เราจะเลือกมาลงทุน เพียงเท่านี้ เราก็จะลงทุนในหุ้นได้อย่างสบายใจว่า ในระยะวันและระยะสัปดาห์ หุ้นกำลังขึ้น ไม่ใช่กำลังลง

ผมขอเพิ่มการตั้งค่าการสแกนใน Efin ให้ตามนี้ครับ* ขอเพิ่มเรื่อง Vol ไปด้วยครับจะได้เจอหุ้นที่ Vol กำลังจะมาด้วย






วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560

หลักการสแกนหุ้น cr.SCANHOON

หลักการสแกนหุ้น cr.SCANHOON

หุ้นเบรค 200 วัน แบ่งเป็น 1.ราคาเบรค 2.โวลุ่มเบรค

หุ้นราคาเบรค 200 วัน:

หมายถึง หุ้นที่มีราคาขึ้นไปสูงสุดในรอบ 200 วันทำการ (ประมาณ 1 ปี) คนที่ติดหุ้นตัวนี้มานานเป็นปี ถ้าไม่ได้เป็นนักลงทุนแบบ VI หรือไม่ได้คัททิ้งไปก่อนหน้านี้ ก็จะทำการขายแล้ว วันนี้เป็นวันที่ทุกคนกำไรหมด ได้ลงจากดอยกันซะที
คนทั่วไปเข้าใจว่า ควรขาย แต่บางคนกลับ อยากซื้อ นี่เป็นความคิดที่ทำให้ คนทั่วไป ต่างจาก เซียนหุ้น หุ้นที่เบรค 200 วันได้ แสดงว่า หุ้นตัวนี้ต้องมีดีอะไรบางอย่าง ไม่งั้นทำไมรายใหญ่จึงยอมกวาดซื้อหุ้นทั้งหมดที่ราคาสูงขนาดนี้
วิธีหาหุ้นราคาเบรค 200 วัน ก็คือ เปรียบเทียบราคาย้อนหลังไป 200 วันทำการ ถ้าพบว่าวันปัจจุบันมีราคาสูงสุด หุ้นตัวนั้นก็คือ หุ้นราคาเบรค 200 วัน

หุ้นโวลุ่มเบรค 200 วัน:

หมายถึง หุ้นที่มีโวลุ่มสูงสุดในรอบ 200 วันทำการ (ประมาณ 1 ปี) ซึ่งโดยปกติแล้ว หุ้นจะเบรคราคา 200 วัน พร้อมๆ กับเบรคโวลุ่ม 200 วันไปด้วยกัน แต่ก็มีบางกรณีที่เบรคราคาไปก่อนแล้วค่อยเบรคโวลุ่มในวันถัดมา หรือเบรคโวลุ่มไปก่อนแล้วค่อยเบรคราคาในวันถัดมา สำหรับกรณีหลังเราต้องตรวจสอบว่า เกิดจากการซื้อขาย Big lot หรือไม่ ถ้าเป็นการซื้อขายปกติในตลาดก็จะน่าสนใจกว่า
โดยอาศัยทฎษฎีเทน้ำลงแก้ว สมมติเราเอาแก้วมา 1 ใบ แล้วเราเอาน้ำจำนวนหนึ่งเทลงไปในแก้ว ระดับน้ำก็จะสูงขึ้นมาในระดับหนึ่ง หากเราเทน้ำออก แล้วเทน้ำเข้ามาใหม่ ด้วยปริมาณน้ำที่เท่าเดิม เราก็เชื่อว่าระดับน้ำในแก้ว ก็คงจะสูงขึ้นเท่าครั้งก่อน
น้ำที่เท ก็คือ โวลุ่ม ส่วนระดับน้ำที่ขึ้น ก็คือ ราคานั่นเอง เราจะอาศัยสิ่งนี้ มาประเมินราคาหุ้นที่คาดว่าจะเกิดในอนาคตได้ นั่นคือ หุ้นที่เบรคโวลุ่มไปก่อน ก็น่าจะเบรคราคาตามมาในไม่ช้า
วิธีหาหุ้นโวลุ่มเบรค 200 วัน ก็คือ เปรียบเทียบโวลุ่มย้อนหลังไป 200 วันทำการ ถ้าพบว่าโวลุ่มปัจจุบันมีค่าสูงสุด หุ้นตัวนั้นก็คือ หุ้นโวลุ่มเบรค 200 วัน


 หุ้นเบรค 200 วันแล้วกำลังพักตัว:
หลังจากหุ้นได้เบรคราคา 200 วันไปแล้ว มักจะมีการพักตัวเพื่อซับแรงขายที่ยังไม่หมด เช่น รายย่อยที่เพิ่งรู้ข่าวว่าหุ้นขึ้นก็จะรีบมาขายหุ้น หรือรายย่อยที่เล่นเอากำไรระยะสั้นก็จะรีบขายก่อนหุ้นตก เป็นต้น เมื่อรายย่อยขายหุ้นออกไป เจ้าท่านก็จะรับซื้อไว้ทั้งหมด การพักตัวอาจกินเวลาแค่ 1 วันหรือหลายวันก็เป็นได้ ราคาจะตกลงมาเยอะบ้างน้อยบ้างตามแต่เจ้าท่านจะสร้างสถานการณ์ให้เราตกใจกลัวแล้วเราก็ขายหุ้นออกไป
หุ้นจะพักตัวจนกระทั่งโวลุ่มแห้ง คือ แทบไม่มีการซื้อขาย หรือซื้อขายกันน้อยมากๆ (เมื่อเทียบกับวันที่หุ้นเบรค 200 วัน) เมื่อเจ้าท่านเห็นว่า รายย่อยได้ขายหุ้นในมือจนหมดเกลี้ยงแล้ว (หุ้นพักตัวเสร็จ) เจ้าท่านก็จะทำราคาหุ้นให้สูงขึ้นไปอีกและอาจจะสูงขึ้นเรื่อยๆ อีกหลายวัน จนกระทั่งรายย่อยทนไม่ไหวแห่กันเข้าไปซื้อหุ้นอีกครั้ง เจ้าท่านก็จะขายให้ด้วยความเต็มใจ รายย่อยก็ได้ติดดอยกันอีกครั้งนึง 5555

เงื่อนไขที่ใช้สแกนหาหุ้นเบรค 200 วันแล้วกำลังพักตัว:
-หุ้นที่เบรค 200 วันมาแล้วไม่เกิน 30 วันทำการ
-อยู่ระหว่างพักตัว โดยราคาปัจจุบันไม่ต่ำกว่าราคา low ของวันที่เกิด Float

-และวันที่เกิด Float เป็นวันเดียวกับที่เบรค 200 วัน หรืออยู่ห่างกันไม่เกิน 5 วันทำการ

วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560

หุ้นขาขึ้นกับ EMA30

สวัสดีครับ เพื่อนๆนักลงทุน

หลายครั้งที่เพื่อนๆ คงเคยได้ยิน หรือได้อ่านมาว่าเราควรจะซื้อหุ้นในช่วงที่เป็นขาขึ้น เพราะมันจะทำให้เรามีโอกาสได้กไรมากกว่าขาดทุน
            คราวนี้ก็มีอีกหลายสำนักบอกมาว่าการดูว่าหุ้นเป็นขาขึ้นต้องดูที่ indy ต่างๆ เช่น RSI ADX  หรือตี trend line หรืออื่นๆ บางทีก็ดูงงๆ ใช้กันไม่ค่อยถูก
            วันนี้เม่าน้อยขอนำเสนอวิธีการหาหุ้นขาขึ้นของเม่าน้อยครับ  หลักการง่ายๆครับ ลองมาดูไปพร้อมๆกัน

มาดูที่ MALEE ครับช่วง 2558 -2559

เปิดกราฟเปล่าๆมามีแค่นี้  ดูแล้วเห็นไรมั้ยครับ อาจจะเห็นแต่ไม่ชัด  เราลองใส่เส้น EMA30 ( week ) ลงไป
ตามภาพด้านล่าง




ใส่เส้น EMA30 ( week ) ลงไป  เห็นไรมากขึ้นมั้ยครับ ราคามักจะพัวพันเส้น EMA30 อยู่

คราวนี้ดูต่อไป

จุดในวงกลมจะพบว่าราคาเป็นแท่งเขียวทะลุผ่าน EMA30 ไป และตามด้วยแท่งเขียวอีก 1 แท่งในวันที่ 25/01/2559

หลังจากนั้นราคาก็ไปเรื่อยๆ พร้อม Vol เพิ่มจากเดิมอย่างมีนัยสำคัญ


ตัดมาให้ดูพร้อมข้อสรุปครับ
1.        หุ้นจะเป็น Uptrend ดูง่ายๆก็ใช้เส้น EMA30 ( week ) มาช่วย ถ้าอยู่เหนือเส้นก็คือขาขึ้น
2.        ซื้อเมื่อราคาอยู่สูงกว่าเส้น EMA30 พร้อมแท่งเขียว
3.        ขายเมื่อราคาตัดลง  เอาง่ายแค่นี้ครับ
สรุปการซื้อขาย
ซื้อ ATC วันที่ 25/1/59 ราคา 16 บาท

             ขาย ATC วันที่ 6/3/60 ราคา  44 บาท  ถือหุ้น 14 เดือน กำไรเกือบ 200%...สบายใจ

เราอ่านแท่งเทียนไปทำไม?

ผมเชื่อเหลือเกินว่าเทรดเดอร์และนักลงทุนไม่ว่าจะเป็นหน้าเก่า หน้าใหม่คงต้องเคยเห็นเจ้ากราฟแท่งเทียนนี้ผ่านตากันมาแล้วแน่นอน แต่ทุกคนเคยทรา...